เกี่ยวกับระบบ Network
ระบบเครือข่ายเบื้องต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้ไฟล์ข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์ หรือทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ร่วมกันได้ ซึ่งระบบเครือข่ายนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานทั่วไป (Application Software) โปรแกรมที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย(Network Software) และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบเครือข่าย (Network Hardware) โปรแกรมประยุกต์ (Application Software)คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปซึ่งมีส่วนเชื่อมต่อกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ในระบบเครือข่ายซึ่งมักมีการกำหนดขอบเขตการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนเพื่อให้การใช้งานในระบบเครือข่ายเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่ติดขัดหรือหยุดชะงักจากข้อผิดพลาดอื่นใดที่อาจเกิดขึ้น โปรแกรมประยุกต์ในลักษณะนี้รู้จักกันดีได้แก่ โปรแกรมประเภทอินเตอร์เน็ตบราวว์เซอร์ได้แก่ โปรแกรมอินเตอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ โปรแกรมเน็ตเคปวิเกเตอร์ เป็นต้น ในการเรียกใช้ข้อมูลทุกครั้งเครื่องลูกข่ายต้องส่งคำขอข้อมูลไปยังเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องแม่ข่ายจะประมวลผลและจัดส่งข้อมูลที่ขอนั้นกลับมาแสดงผลยังเครื่องลูกข่าย
โปรแกรมระบบเครือข่าย (Network Software)ทำหน้าที่เชื่อมต่อและควบคุมการสื่อสาร ตลอดจนดูแลการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แะลระหว่างโปรแกรมประยุกต์ให้เป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อย
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบเครือข่าย (Network Hardware) คืออุปกรณ์ทางกายภาพที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบเครือข่าย เช่น สายสัญญาณ อุปกรณ์ส่งต่อสัญญาณ รวมทั้งแผงวงจรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในระบบเครือข่าย
ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
1. ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยสะดวกรวดเร็ว
2. ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องใช้อุปกรณ์หรือทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ การใช้แหล่งเก็บข้อมูลร่วมกัน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย.
3. เพิ่มขัดความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มของหน่วยงานหรือขององค์กร
4. เพิ่มความสามารถในด้านการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เช่น การนำเอาไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดามาเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มความ สามารถประมวลผลในระดับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ความเป็นมาของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายในปัจจุบันมีที่มาจากลักษณะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เมนเฟรม(Mainframe) ซึ่งมี ลักษณะการทำงานแบบรวมศูนย์กลางประกอบด้วยเทอร์มินัล(Terminal) ซึ่งเป็นจอภาพและแป้นพิมพ์ทำหน้าที่เป็นสมาชิกหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเทอร์มินัลจะมีจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของแต่ละองค์กร เทอร์มินัลจะไม่ทำการประมวลผลเองถึงแม้ว่าจะมีหน่วยประมวลผลก็ตาม ซึ่งมักเรียกการทำงานแบบนี้ว่า เทอร์มินัลใบ้ (Dumb Terminal) ข้อมูลทุกอย่าง ของทุก ๆ เทอร์มินัลจะถูกส่งมาประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์หลัก
เครื่องคอม Mainframe มีราคาแพงรวมทั้งการเพิ่มปริมาณผู้ใช้ระบบต้องเพิ่มความสามารถของ CPU ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ซึ่งประริมาณงานในระบบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ทำให้ระบบแบบรวมศูนย์กลางไม่สามารถตอบสนองการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อึกต่อไป จึงมีแนวความคิดในการประมวลผลที่เครื่องเทอร์มินัลให้เป็นสถานทำงานแบบเทอร์มินัลอัจฉริยะ และพัฒนาให้มีการประมวลผล แบบกระจายแทนการรวมศูนย์กลางอย่างแต่เดิม
การนำเอาคอมพิวเตอร์มารวมกันเป็นระบบเครือข่ายทำให้สามารถทำงานได้มากขึ้นและลดภาระของเครื่องคอมพิวเตอร์หลักลง โดยยังคงประสิทธิภาพในการทำงานเท่าเดิมหรือดีกว่า ประกอบกับในปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีแบบไคลเอ็น์เซิฟเวอร์(Client-Server) ซึ่งใช้การประมวลผลที่เครื่องลุกข่ายโดยเครื่องหลักทำหน้าที่จัดเก็บและบริหารข้อมูล ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ลดลงเป็นจำนวนมาก
จากประโยชน์ของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อให้เป็นระบบเครือข่ายประกอบกับเทคโนโลยีด้านนี้ก้าวหน้าไปมาก รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ มีราคาถูกลง ส่งผลให้หน่วยงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่นิยมเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น
ประเภทของระบบเครือข่าย
1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network:LAN)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในบริเวณ ใกล้เคียงเข้าด้วยกัน เช่น ในห้องเรียน ในชั้นหรือระหว่างชั้นของอาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งถ่ายหรือใช้ข้อมูลและอุปกรณ์ที่มี ราคาแพงร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ความเร็วสูง สแกนเนอร์ความละเอียดสูง
องค์ประกอบของระบบ LAN
1) Workstation หรือ PC-LAN? เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีการใช้งานอยู่ในระบบเครือข่าย
2) File Server เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการแก่ Workstation ทั้งหมดโดยมีหน้าที่จัดเก็บและดึงข้อมูลจากไฟล์ที่ใช้ร่วมกันบนฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ในเครื่อง File Server เพื่อเก็บข้อมูลของทั้งเครือข่าย ซึ่งฮาร์ดดิสก์ที่ใช้จะต้องมีคุณภาพสูง ทนทานต่อการใช้งานหนักเพราะต้องให้บริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเครือข่าย File Server นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า F Server หรือถ้าเป็นระบบเครือข่ายใหญ่ๆ เช่นระบบอินเตอร์ เน็ตจะเรียกว่า Host
3) สายสัญญาณของระบบเครือข่าย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล โดยสายสัญญาณนี้จะถูกเชื่อมต่อระหว่าง Workstation และ File Server เข้าด้วยกัน สายสัญญาณมีหลายประเภทและหลายขนาดโดยต้องรู้จักเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของระบบเครือข่ายนั้น ๆ ตัวอย่างของสายสัญญาณได้แก่ สายโคแอคเชียลแบบบางหรือแบบหนา (Thin or Thick Coaxia) สายเกลียวคู่ทั้งชนิดหุ้มและไม่หุ้มสาย และเส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นต้น
4) Network Adapter เป็นแผงวงจรที่นำมาติดตั้งไว้ใน Workstation และ File Server โดยมีรหัสต่อเพื่อเชื่อมสายสัญญาณเข้าหากัน นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Card Lan
5) Network Operation System : NOS เป็นซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการเครือข่าย ทไหน้าที่รักษาความปลอดภัยของระบบเครือ ข่าย ควบคุมการใช้งานและการสื่อสารข้อมูล ตลอดจนบริหารจัดการดูแลการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างเครื่อง File Server และ Workstation ให้เป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อย
2. ระบบเครือข่ายระหว่างเมือง (Metropolitan Area Network : MAN )
เป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่กว่า Lan มักใช้เชื่อมต่อกันในระดับเมือง หรือใช้เชื่อมต่อระหว่างอาคารหลาย ๆ หลังเข้าด้วยกัน โดยใช้เทคโนโลยีเครือข่ายความเร็วสูงหรือแบคโบน(Backbone) ทำให้การติดต่อสื่อสารและการส่งถ่ายข้อมูลในระบบมีความเร็วสูงแม้ข้อมูลจะมีปริมาณมากก็ตาม
3. ระบบเครือข่ายในระยะไกล (Wide Area Network : WAN)
เป็นระบบที่ใช้ควบคุมพื้นที่กว้างขวางเป็นระยะทางหลาย ๆ กิโลเมตร จนถึงระดับประเทศหรือทวีป การเชื่อมต่อระบบ WAN ส่วนใหญ่ มักใช้สายส่งสัญญาณที่มีให้บริการโดยทั่วไป เช่น สายโทรศัพท์ การใช้ดาวเทียม การใช้สัญญาณไมโครเวฟ และการส่งสัญญาณอื่น ๆ ที่สามารถส่งผ่านระยะทางไกล ๆ ได้ รูปแบบของระบบงานที่ใช้ WAN ได้แก่ ระบบฝากถอนเงินของธนาคารต่าง ๆ ระบบบัตรเครดิต รวมถึงระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งจัดเป็น WAN ด้วยเช่นกัน
4. เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล ในการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะในระยะทางไกล นอกจากสายส่งสัญญาณ และแผงวงจรต่าง ๆ แล้ว เรายังต้องใช้เทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมเข้ามาช่วยในการรับส่งหรือ่ายสัญญาณ เช่น ระบบดาวเทียม ระบบโทรศัพท์ ระบบวิทยุ โทรคมนาคม เป้นต้น เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว ครอบคุมผู้ใช้งานจำนวนมากที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งนับวันเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมยิ่งก้าวหน้ามากขึ้นทำให้การใช้งานสารสนเทศมีประโยชน์และความสำคัญเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ